การซื้อประกัน

You are here:

การซื้อประกันภัย มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1) ซื้อโดยตรงกับบริษัทประกันภัย
2) ผ่านตัวแทนบริษัทประกันภัย
3) ผ่านบริษัทนายหน้าประกันภัย

บริษัทประกันภัยเป็นผู้ร่างสัญญาเองและในขณะเดียวกันก็เป็นผู้จ่ายเคลมอีกด้วย จะเห็นว่าผลประโยชน์ขัดกัน ถึงแม้ว่าเมื่อเกิดเคลมบริษัทประกันภัยอาจใช้บริษัทสำรวจภัยและผู้ประเมินความเสียหาย (surveyor & adjuster) ก็ตาม ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาเหล่านี้จะได้รับแต่งตั้งให้ทำงานแทนบริษัทประกันภัยไม่ใช่แทนผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัยได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ขาย” คือขายกรมธรรม์ต่าง ๆ แต่ผู้เอาประกันภัยเป็น “ผู้ซื้อ” ซึ่งผลประโยชน์ของสองฝ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยทั่วไปแล้วไม่เคยไปด้วยกันเลย หลักการซื้อขายทั่วไปและภาษิตกฎหมายมีอยู่ว่า

“ผู้ซื้อต้องเป็นผู้ระมัดระวังเอง” (let the buyer beware)

ยิ่งเป็นการซื้อประกันภัยยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะการซื้อสินค้าอย่างอื่นเราพอมองเห็นข้อบกพร่องก่อนได้ แต่การซื้อประกันภัยเป็นการซื้อเหตุการณ์ล่วงหน้า เราจะเห็นข้อบกพร่องของกรมธรรม์ก็ต่อเมื่อเกิดเคลมขึ้นแล้วและไม่สามารถแก้ไขอะไรได้และที่สำคัญคือการซื้อประกันภัยเป็นการซื้อตัวหนังสือไม่สามารถจับต้องได้เหมือนการซื้อสินค้าทั่ว ๆ ไป

สำหรับตัวแทนบริษัทประกันภัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ขายเช่นเดียวกัน คือ นำผลิตภัณฑ์หรือกรมธรรม์ต่าง ๆ ที่ตนเป็นผู้แทนบริษัทประกันภัยนั้น ๆ ไปเสนอขายกับประชาชน ส่วนนายหน้าประกันภัยเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันภัยและได้ชื่อว่าเป็นผู้ซื้อประกันภัยไม่ใช่ผู้ขายประกันภัย เพราะเมื่อได้รับคำสั่งให้จัดประกันภัย นายหน้าประกันภัยก็จะไปในตลาดประกันภัยเพื่อหากรมธรรม์ที่ดีจากบริษัทประกันภัยที่มีอยู่มากมายให้กับลูกค้าของตนซึ่งเท่ากับทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อประกันภัยนั่นเอง ด้วยเหตุนี้บทบาท หน้าที่และแนวความคิดในการทำงานของตัวแทนบริษัทประกันภัยกับนายหน้าประกันภัยจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

นอกจากนี้นายหน้าประกันภัยยังแยกออกเป็นนายหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดากับนายหน้าที่เป็นนิติบุคคลคือเป็นรูปบริษัทซึ่งย่อมจะให้ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพและความมั่นคงมากกว่าเพราะไม่ได้ทำงานคนเดียวแต่มีกลุ่มคนที่คอยรับผิดชอบร่วมกันและแทนกันได้

บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยที่ดำเนินธุรกิจในรูปของนิติบุคคลมีอยู่ 2 ประเภท คือ บริษัทนายหน้าประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตั้งขึ้นเอง (in-house or captive brokers) กับบริษัทนายหน้าประกันภัยอิสระที่ไม่สังกัดบริษัทประกันภัย (independent or professional brokers) ประโยชน์สูงสุดที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับคือการซื้อประกันภัยโดยผ่านบริษัทนายหน้าประกันภัยที่เป็นอิสระ

 

บริษัท สยามชัวร์ตี้ จำกัด เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัยที่ไม่สังกัดบริษัทประกันภัยใด